1. โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนาตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

หลักการและเหตุผล โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนาตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโครงการพระราชดำริที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎร อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2538 ทรงเห็นความด้อยโอกาสของประชาชน จึงทรงโปรดให้ดำเนินการโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่นอกจากนั้นยังมีพระราชดำริเมื่อ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ให้มีการสาธิตรูปแบบการเกษตรที่เหมาะสม กับพื้นที่ในรูปแบบวนเกษตร เพื่อให้มีการใช้ที่ดินอย่างถาวรเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำน่าน จึงทรงโปรดให้จัดตั้งศูนย์ภูฟ้าพัฒนาฯขึ้น
โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนาตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งอยู่ที่ ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน มีพื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ เป็นพื้นที่ทำกินของเกษตรกร 1,200 ไร่ พื้นที่ส่วนกลาง(พื้นที่ทรงงาน) 800 ไร่ มีจำนวนเกษตรกรในพื้นที่ 127 ครอบครัว ผลผลิตข้าวไร่ประมาณ 20 ถังต่อไร่
จากการวิเคราะห์พื้นที่พบประเด็นปัญหาต่างๆ ในพื้นที่เป้าหมายคือ เกษตรกรเกือบทั้งหมดไม่สามารถผลิตข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือนตนเอง ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในหลายด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงสภาพแวดล้อมในระดับท้องถิ่น และโดยรวมของประเทศในที่สุด ฉะนั้นกิจกรรมเป้าหมายหลัก คือ การเพิ่มผลผลิตข้าวตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับการพัฒนาความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ - เพื่อยกระดับผลผลิตข้าวต่อพื้นที่ - เพื่อนำเทคโนโลยีเรื่องข้าวที่เหมาะสมสู่เกษตรกร - เพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรขาดเมล็ดพันธุ์
เป้าหมาย - เกษตรกรสามารถผลิตข้าวได้เพียงพอสำหรับบริโภคในครัวเรือน - เกษตรกรในโครงการมีความรู้เรื่องข้าว - เกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงพอต่อการปลูกในแต่ละปี
ตัวฃี้วัดผลผลิต เชิงปริมาณ - เกษตรกรมีการปลูกข้าวไร่แบบขั้นบันไดในโครงการ 5 - 10 ไร่ต่อปี - มีนาขั้นบันไดสำหรับปลูกข้าวนาดำของเกษตรกร 2 - 5 รายต่อปี - เกษตรกรปลูกข้าวในนาดำฤดูนาปี หรือนาปรัง 50 - 70 ไร่ - มีเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ และข้าวนาให้เกษตรกรปลูกอย่างพอเพียง - เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข้าว
เชิงคุณภาพ - ผลผลิตข้าวไร่ที่ปลูกแบบขั้นบันไดได้ไม่น้อยกว่า 300 กิโลกรัมต่อไร่ - ผลผลิตข้าวนาดำที่ปลูกแบบขั้นบันไดได้ไม่น้อยกว่า 400 กิโลกรัมต่อไร่ - ผลผลิตข้าวนาดำ (นาปี และนาปรัง) ได้ไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ - เกษตรกรกลุ่มปลูกข้าวได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องข้าย ร้อยละ 100 - ได้เมล็ดข้าวไร่พันธุ์ดี 3-5 พันธุ์ และข้าวนาพันธุ์ดี 2-3 พันธุ์ ให้เกษตรกรปลูกอย่างพอเพียงในรูปของธนาคารพันธุ์ข้าว
วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมการพัฒนาการปลูก และยกระดับผลผลิตข้าวไร่มีขั้นตอนดังนี้ 1.พัฒนาพื้นที่ปลูกเป้นแบบขั้นบันได 5-10 ไร่ 2.สนับสนุนปัจจัยการเพิ่มผลผลิต (ปุ๋ย) กิจกรรมการพัฒนาการปลูกและยกระดับผลผลิตข้าวนา มีขั้นตอนดังนี้ 1.พัฒนาพื้นที่ปลูกข้าวแบบนาดำในฤดูนาปี และนาปรังเบบเกษตรกรมีส่วนร่วม 30-50 ไร่ 2.การใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกข้าวนาดำ (นาปี-นาปรัง) 2-3 พันธุ์ 3.สนับสนุนปัจจัยการเพิ่มผลผลิตข้าว (ปุ๋ย) การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านข้าวมีขั้นตอนดังนี้ 1.ฝึกอบรมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ และข้าวนาแบบครบวงจร จำนวน 130 ราย 2.จัดทำแปลงสาธิตการปลูกข้าวนาขั้นบันได พื้นที่ 1 ไร่ 3.จัดทำแปลงสาธิตการปลูกข้าวนาดำ (นาปี-นาปรัง) พื้นที่ 1.5 ไร่ การจัตตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว 1 แห่ง มีขั้นตอนดังนี้ 1.ผลิตเมล็ดข้าวไร่ 3 พันธุ์ (ข้าวขาว ซิวเกลี้ยง ข้าวแจ๊ะ) พื้นที่ 3 ไร่ 2.ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวนาดำ 3 พันธุ์ (สันป่าตอง 1 แพร่ 1 กข 14) พื้นที่ 5 ไร่ 3.การบริหารจัดการโดยกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบคณะกรรมการ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - ผลผลิตข้าวไร่ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นมากกว่า 300 กิโลกรัมต่อไร่ และเป็นรูปแบบการปลูกข้าวไร่ที่ยั่งยืน - ผลผลิตข้าวนาดำของเกษรกรได้ไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ และเป็นรูปแบบการปลูกข้าวที่ถูกต้องและเหมาะสม - เกษตรกรมีความรู้ด้านข้าวอย่างครบวงจร - เกษตรกรมีธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว และมีเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ไว้ปลูกอย่างน้อย 3 พันธุ์ และมีเมล็ดพันธุ์ข้าวนาดำอย่างน้อย 3 พันธุ์ไว้ปลูกอย่างพอเพียง
สถานที่ดำเนินงาน - บ้านห่างทางหลวง บ้านผาสุข ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน แปลงทดลองศูนย์วิจัยข้าวแพร่ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. โครงการกองทุนข้าวพระราชทานในสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

หลักการและเหตุผล โครงการกองทุนข้าวพระราชทานในสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนข้าวและเป้นการสร้างกองทุนสำรองสำหรับเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือตนเองได้ในอนาคต ปัจจุบันมีกรขยายผลสู่พื้นที่ใกล้เคียง และศูนย์วิจัยข้าวแพร่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือในด้านการปลูก การใช้ปัจจัยการผลิตที่ถูกต้องเหมาะสมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านข้าวอย่างครบวงจรให้กัยเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว
วัตถุประสงค์ - เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรที่ขาดแคลนข้าวปลูกและข้าวบริโภคอย่างพอเพียง - เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องการผลิตข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย - เกษตรกรมีเมล็ดพันะข้าวพันธุ์ดีไว้ปลูกในพื้นที่อย่างเพียงพอ - เกษตรกรมีความรู้เรื่องการผลิตข้าวและการเพิ่มผลผลิตข้าวต่อพื้นที่
ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) หรือผลลัพธ์ (Out come) ของโครงการ เชิงปริมาณ - เกษตรกรในโครงการสามารถพัฒนาระบบการผลิตข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ - เกษตรกรได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ในการผลิตข้าวทุกด้าน เชิงคุณภาพ - ผลผลิตข้าวได้ไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ - เกษตรกรทุกคนในโครงการได้รับการพัฒนาการปลูกข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมการพัฒนาการผลิตข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1. จัดทำแปงการเรียนรู้การปลูกและการเพิ่มผลผลิตข้าวแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม 2. จัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม 3. พัฒนาระบบการผลิตข้าวแบบปลอดภัยไร้สารพิษ กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าว มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1.ฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ด้านข้าวอย่างครบวงจร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - เกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไว้ใช้ในโครงการและสามารถพึ่งตนเองได้ - เกษตรกรมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาการผลิตข้าวอยางมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจากสารพิษ
สถานที่ดำเนินงาน - เกษตรกรตำบลป่าคา ตำบลศรีภูมิ ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
--------------------------------------------------------------------------------------------
3. โครงการพัฒนาบ้านกอก-บ้านจูน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

หลักการและเหตุผล โครงการพัฒนาบ้านกอก-บ้านจูน (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) เป็นโครงการที่ตั้งขึ้นหลังจากที่สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรบ้านจูนใต้ ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 ได้พระราชทานพระราชดำริแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยทรงเน้นให้ดำเนินการพัฒนาจากข้างในก่อนแล้วค่อยระเบิดออกไปข้างนอก ในด้านการพัฒนาอาชีพให้พิจารณาส่งเสริมราษฏรทำการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การทำนาแบบขั้นบันไดเพื่อลดการใช้พื้นที่ทำการเกษตรให้น้อยลง ซึ่งโครงการพัฒนาบ้านกอก-บ้านจูนฯ มีพื้นที่โครงการประมาณ 12,500 ไร่ ตั้งอยู่ในหมุ่ที่ 11 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ลัษณะเป้นพื้นที่ป่าเขาสูงชัน มีความสูงจากน้ำทะเลระดับปานกลาง 800-1,200 เมตร ราษฏรเป็นชนเผ่าถิ่นใช้ภาษาลัวะเป็นภาษาพูด ผลผลิตข้าวที่ได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือนตลอดทั้งปี ศูนย์วิจัยข้าวพร่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการพัฒนาการเกษตรฯในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าว ได้แก่ การสาธิตกรส่งเสริมการให้คำแนะนำ และช่วยเหลือเหกษตรกรในพื้นที่โครงการฯ ในด้านการปลูกข้าวไร่ การปลูกข้าวนาดำในพื้นที่นาขุดขั้นบันไดบนไหล่เขาที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เป็นต้นมา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวให้ราษฏรมีข้าวเพียงพอต่อการบริโภคได้ตลอดปี
วัตถุประสงค์ - เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมสนับสนุนการปลูกข้าวไร่และข้าวนาดำในพื้นที่นาขุดขั้นบันได - เพื่อยกระดับผลผลิตข้าวต่อพื้นที่ให้สูงขึ้น โดยการใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่
เป้าหมาย - เกษตรกรปลูกข้าวในพื้นที่นาขุดขั้นบันได แบบนาดำ 350 ไร่ - ผลผลิตข้าวนาดำมากกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ - เกษตรกรปลูกข้าวไม่น้อยกว่า 100 ราย ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านข้าวครบวงจรอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) หรือผลผลัพธ์ (Outcome) ของโครงการฯ เชิงปริมาณ - มีนาขุดขั้นบันไดสำหรับปลูกข้าวนาดำ 350 ไร่ - เกษตรกรมีพันธุ์ข้าวเพียงพอ ในการปลูกแบบนาดำ เชิงคุณภาพ - ผลผลิตข้าวที่ปลูกแบบนาดำได้ไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ - มีพันธุ์ข้าวปลูกไม่น้อยกว่า 5 พันธุ์
วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมการปลูกข้าวนาดำแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1. สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการเพิ่มผลผลิตข้าวนาดำ เช่น พันธุ์ข้าว และปุ๋ย 2. สนับสนุนการเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวนาดำ กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านข้าวอย่างถูกต้องและเหมาะสมมีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1. อบรมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้มีความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าวอย่างครบวงจร การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการคัดเลือกพันธุ์ 2. ให้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง กิจกรรมการจัดทำแปลงการสาธิตการปลูกข้าวนดำ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1. จัดทำแปลงสาธิตที่มีการแสดงการเตรียมพื้นที่ การตกกล้าข้าว การปลูก การดูแลรักษาข้าว การจัดการธาตุอาหารพืช การจัดการศัตรูพืช ตามช่วงเวลาการเติบโตของข้าว 2. จัดทำแปลงการทดสอบพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ๆ ปลูกข้าวแบบนาดำ โดยใช้ข้าวพันธุ์ดีในพื้นที่และนอกพื้นที่ คัดเลือกพันธะที่ให้ผลผลิตสูง และเกษตรกรชอบไว้ปลูกขยายพันธุ์ต่อไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - เกษตรกรมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจนเพียงพอต่อการบริโภคมนครัวเรือน - ทรัพยากรป่าไม้ในโครงการไรบความอนุรักษ์ และฟื้นฟู เนื่องจากการใช้พื้นทีการปลูกข้าวไร่ลดลง
สถานที่ดำเนินงาน - หมู่ที่ 1 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน
---------------------------------------------------------------------------------
4. โครงการพัฒนาความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

หลักการและเหตุผล โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน เป็นโครงการที่จัดขึ้นตามแนวพระราชดำริ ที่จะให้พัฒนาชาวเขาและผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยแก้ปัญกาความมั่นคงตามแนวชายแดน และพัฒนาพื้นที่ให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ได้รับมอบหมายห้ช่วยพัฒนาด้านข้าวให้กับบุคคลเป้าหมายในโครงการดังกล่าว
วัตถุประสงค์ - เพื่อยกระดับผลผลิตข้าวต่อพื้นที่ - เพื่อลดพื้นที่การทำไร่เลื่อนลอย และเกษตรกรมีความรู้เรื่องข้าวโดยมีการพัฒนาระบบการปลูกแบบยั่งยืน
เป้าหมาย - ได้ผลผลิตข้าวต่อพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ข้าวไร่มากกว่า 300 กิโลกรัมต่อไร่ - เกษตรกรมีความรู้เรื่องข้าว
ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) หรือผลผลัพธ์ (Outcome) ของโครงการฯ เชิงปริมาณ - พื้นที่ปลูกข้าวแบบเลื่อนลอยลดลง เกษตรกรมีการพัฒนาระบบการปลูกข้าวอย่างยั่งยืน - เกษตรกรมีความรู้เรืองข้าว เชิงคุณภาพ - ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 50-100 - เกษตรกรผ่านการอบรมมีความรู้เรื่องข้าว สามารถพัฒนาระบบการปลูกข้าวแบบยั่งยืน ร้อยละ 50-100
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - ได้พื้นที่ปลูกข้าวอย่างยั่งยืนและผลผลิตข้าวต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น - เกษตรกรมีความรู้เรื่องข้าวอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
สถานที่ดำเนินงาน - บ้านสว่าง ตำบลหนองแดง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน - บ้านทุ่งกวาง ตำบลหมอเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน - บ้านน้ำรีพัฒนา ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน - บ้านขุนน่าน ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน - บ้านห้วยหยวก ตำบลแม่คะนิง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน - บ้านแม่สะนาน อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน - บ้านน้ำมืด อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
------------------------------------------------------------------------------
5.โครงการพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านสะจุก-สะเกี้ยง

หลักการและเหตุผล เป็นโครงการสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงมีส่วนร่วมในโครงการฯ ได้เรียนรู้กาทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการ ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนช่วยเหลือราษฎรในการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตเพียงพอต่อการบริโภค
วัตถุประสงค์ - เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ให้ราษฎรในโครงการ - เพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวนาขั้นบันไดและยกระดับผลผลิตข้าวต่อพื้นที่
เป้าหมาย - เกษตกรในโครงการฯ 50 คน ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าว - นาขั้นบันไดของเกษตรกรในโครงการฯ 50 ไร่ ได้รับการพัฒนาและยกระดับผลผลิตข้าวต่อพื้นที่
ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) หรือผลผลัพธ์ (Outcome) ของโครงการฯ เชิงปริมาณ - การเพิ่มขึ้นของนาขั้นบันไดในโครงการ - เกษตรกรกลุ่มปลูกข้าวได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านข้าวไร่และนาดำ ในนาขั้นบันได เชิงคุณภาพ - ผลผลิตข้าวนาขั้นบันไดได้ไม่น้อยกว่า 400 กิโลกรัมต่อไร่ - เกษตรกรมีความรู้เรื่องการปลูกข้าวทุกคน
วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมการยกระดับผลผลิตข้าวนาดำในนาขั้นบันได มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ - สนับสนุนฟื้นฟูการทำนาดำในนาขั้นบันไดให้กับเกษตรกรในโครงการ - สนับสนุนปัจจัยการเพิ่มผลผลิตข้าวนาขั้นบันได กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านข้าว มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ - ฝึกอบรมการทำนาขั้นบันไดให้กับเกษตรกร - จัดทำแปลงสาธิตและทดสอบพันธุ์ข้าวในพื้นที่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - เกษตรกรในโครงการมีการพัฒนาการปลูกข้าวนาดำมากขึ้น ลดการปลูกข้าวแบบเลื่อนลอย - เกษตรกรมีความรู้เรื่องข้าวสามารถยกระดับผลผลิตข้าวต่อพื้นที่ให้มากขึ้น
สถานที่ดำเนินงาน - บ้านสะจุก-สะเกี้ยง ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
------------------------------------------------------------------------------
6.โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านสบขุ่น

หลักการและเหตุผล เป็นโครงการสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ต้องการให้ราษฎรทำการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีการปลูกพืชแบบนาขั้นบันได ลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ได้มอบหมายให้ดำเนินงานด้านข้าวให้กับราษฎรในโครงการฯ ได้มีการปลูกข้าวอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวพระราชดำริฯ ดังกล่าว
วัตถุประสงค์ - เพื่อถ่ายทอกเทคโนโลยีการปลูกข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ให้ราษฎรในโครงการ - เป็นต้นแบบการปลูกพืชแบบอนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อม
เป้าหมาย - พื้นที่ปลูกข้าวนาดำของเกษตรกร 50 ราย พื้นที่ 100 ไร่ ผลผลิตไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ - พื้นที่ปลูกข้าวไร่แบบนาขั้นบันได 1 ราย 1 ไร่
ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) หรือ ผลผลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ เชิงปริมาณ - เกษตรกรมีการปลูกข้าวนาดำอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับพื้นที่มากกว่า 10 ไร่ - เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยด้านข้าว เชิงคุณภาพ - ผลผลิตข้าวนาดำไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ - เกษตรกรมีความรู้ด้านข้าวอย่างครบวงจรไม่น้อยกว่า 50 ราย
วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวนาดำ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1.อบรมเกษตรกรกลุ่มปลูกข้าวนาดำ 2.สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการเพิ่มผลผลิตข้าว 3.จัดทำแปลงสาธิตและทดสอบพันธุ์ข้าวนาดำ กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวไร่ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1.อบรมเกษตรกรของกลุ่มปลูกข้าวไร่ของนาขั้นบันได 2.สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการให้ผลผลิตข้าว 3.จัดทำแปลงสาธิตการปลูกข้าวไร่แบบขั้นบันได
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - เกษตรกรมีความรู้เรื่องการปลูกข้าวไร่และข้าวนาดำอย่างถูกต้องและยกระดับผลผลิตข้าว - มีการใช้พื้นที่อย่างเหมาะสมเป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
สถานที่ดำเนินงาน - บ้านสบขุ่น ตำบลป่าคา อำเภท่าวังผา จังหวัดน่าน
-------------------------------------------------------------------------------
7. โครงการพัฒนาการเกษตรที่สูงภูพยัคฆ์ตามพระราชดำริ

หลักการและเหตุผล เป็นโครงการสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการให้ความช่วยเหลือราษฎรให้มีข้าวเพียงพอต่อการบริโภคและทำการเกษตรอย่างถูกต้อง มีการใช้พื้นที่ทำการเกษตรอย่างเหมาะสม เช่น การทำนาขั้นบันได ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ได้รับมอบหมายให้เข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่โครงการ
วัตถุประสงค์ - เพื่อยกระดับผลผลิตข้าวต่อพื้นที่ให้สูงขึ้น ราษฎรมีข้าวเพียงพอต่อการบริโภค - ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวที่ถูกต้องและเหมาะสมกับพื้นที่ ลดการใช้พื้นที่ปลูกข้าวและลดการทำไร่เลื่อนลอย
เป้าหมาย - ได้ผลผลิตข้าวที่ปลูกแบบนาดำในนาขั้นบันไดเพิ่มมากขึ้น - เกษตรกรไม่น้อยกว่า 50 ราย ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับพื้นที่
ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) หรือ ผลผลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ เชิงปริมาณ - มีการพัฒนาการปลูกข้าวแบบนาขั้นบันไดเพิ่มมากขึ้น - เกษตรกรมีความรู้เรื่องการปลูกข้าวได้อย่าถูกต้องเหมาะสมต่อพื้นที่ - พื้นที่การทำไร่เลื่อนลอยลดลง เชิงคุณภาพ - ได้ผลผลิตข้าวที่ปลูกแบบนาดำในนาขั้นบันได ไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ - เกษตรกรมีความรู้เรื่องข้าวมากขึ้น - ทรัพยากรป่าไม้ได้รับการฟื้นฟู
วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมการยกระดับผลผลิตข้าวต่อพื้นที่ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1.เลือกพื้นที่เกษตรกรเป้าหมายที่จะใช้เป้นต้นแบบ การพัฒนาการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง 2.สนับสนุนปัจจัยการเพิ่มผลผลิตข้าวที่จำเป็น กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านข้าวให้เกษตรกร มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1.อบรมเกษตรกรที่ปลูกข้าวไม่น้อยกว่า 50 ราย 2.จัดทำแปลงสาธิตการปลูกข้าวนาดำให้เกษตรได้เรียนรู้ 3.จัดทำแปลงทดสอบพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - เกษตรกรได้ผลผลิตข้าวต่อพื้นที่เพิ่มมากขึ้น - เกษตรกรได้รับความรู้เรื่องการปลูกข้าวอย่างถูกต้องเหมาะสมกับพื้นที่ - ลดพื้นที่ปลูกข้าวแบบเลื่อนลอย ทรัพยากรป่าไม้ได้รับการฟื้นฟู
สถานที่ดำเนินงาน - บ้านน้ำรีพัฒนา บ้านน้ำช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
--------------------------------------------------------------------------
8. โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินลุ่มน้ำขุนน่าน

หลักการและเหตุผล โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินลุ่มน้ำขุนน่าน เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ดำเนินการขยายผลโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านสะจุก-สะเกี้ยง ซึ่งมีพื้นที่โครงการประมาณ 105,412 ไร่ มี 15 หมู่บ้าน ประชากรประมาณ 4,381 คน ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมกรข้าว ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนการปลูกข้าวของเกษตรกรในโครงการให้ได้ผลผลิตมากขึ้นเพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน
วัตถุประสงค์ - เพื่อพัฒนาระบบการปลูกข้าวในพื้นที่ข้าวนาขั้นบันไดและขยายผลการทำนาขั้นบันได เพื่อยกระดับผลผลิต - ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวอย่างถูกต้องและเหมาะสมให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการ
เป้าหมาย - พัฒนาระบบการปลูกข้าวนาขั้นบันไดในแปลงเกษตรกรพื้นที่ 30 ไร่ - ถ่ายทอดเท๕โนโลยีการปลูกข้าวนาขั้นบันไดให้เกษตรกร 60 ราย
ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) หรือ ผลผลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ เชิงปริมาณ - เกษตรกรได้นาขั้นบันไดเพื่อปลูกข้าวเพิ่มขึ้นปีละ 5-10 ไร่ - เกาตรกรได้รับการฝึกอบรมด้านข้าว สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ เชิงคุณภาพ - ผลผลิตข้าวที่ปลูกในสภาพนาขั้นบันไดได้ไม่น้อยกว่า 400 กิโลกรัมต่อไร่ - เกษตรกรผู้ปลูกข้าวทุกคนได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านข้าวแบบครบวงจร
วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมพัฒนาการปลกข้าวนาขั้นบันไดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1.สนับสนุนและส่งเสริมการปลูกข้าวแบบข้าวนาขั้นบันไดเพื่อเพิ่มผผลิตข้าว โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม 2.สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการเพิ่มผลผลิตข้าว กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านข้าว มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1.คัดเลือกเกษตรกรกลุ่มปลูกข้าวมาฝึกอบรมในเรื่องข้าวอย่างครบวงจร 2.นำไปศึกษาดูงานในโครงการที่ประสบผลสำเร็จแล้ว
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - ได้พื้นที่ปลูกข้าวอย่างยั่งยืน และได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ลดการใช้พื้นที่ปลูกข้าวไร่ - เกษตรกรมีความรู้เรื่องการปลูกข้าวอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับพื้นที่ เป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
สถานที่ดำเนินงาน - บ้านสะจุก บ้านสะเกี้ยง บ้านซ้อ ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
---------------------------------------------------------------------------------
9. โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิลุ่มน้ำลี

หลักการและเหตุผล โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินลุ่มน้ำลี เป็นโครงการสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำขึ้นเพื่อกรช่วยเหลือราษฎรและฟื้นฟูระบบการปลูกข้าวในพื้นที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม โดยศูนย์วิจัยข้าวแพร่ได้รับมอบหมายให้เข้าดำเนินการฟื้นฟูในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวของเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าว
วัตถุประสงค์ - เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบอุทกภัยร้ายแรงให้สามารถฟื้นฟูอาชีพได้ใหม่และมีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีปลูกอย่างทั่วถึง
เป้าหมาย - เกษตกรสามารถฟื้นฟูการปลูกข้าวในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยให้ได้ผลผลิจข้าวเพียงพอต่อการบริภค - เกษตรกรมีเมล็ดพันะข้าวพันธุ์ดีใช้อย่างทั่วถึง
ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) หรือ ผลผลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ เชิงปริมาณ - พื้นที่นาข้าวได้รับการฟื้นฟู - เกษตรกรไม่ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวพันะดีที่จะปลูกในพื้นที่ เชิงคุณภาพ - ผลผลิตข้าวได้ไม่น้อยกว่า 600 กิโลกรัมต่อไร่ - มีเมล็ดพันะข้าวพันธุ์ดีปลูกอย่างทั่วถึงทุกราย
วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมการผลิตเมล็ดพันะข้าวพันธุ์ดีเพื่อใช้ในพื้นที่ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1.จัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันะดีแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม จำนวน 2 พันธุ์ พื้นที่ 20 ไร่ กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านข้าว มีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1.จัดฝึกอบรมเกษตรกรในโครงการ ในเรื่องที่เกี่ยวกับข้าวอย่างครบวงจร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - เกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีปลูกอย่างทั่วถึง - เกษตรกรได้รับความรู้เรื่องข้าว อย่างถูกต้องและเหมาะสม ในการพัฒนาการปลูกข้าวและการเพิ่มผลผลิตข้าว
สถานที่ดำเนินงาน - บ้านน้ำลี ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตจถ์ - บ้านน้ำต๊ะ ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถฺ
****************************************************
|